ของดีเมืองโคราช

“เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน”

 q_1

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวต่างถิ่นที่แวะมาเยือนและชาวเมืองโคราชนิยมมาสักการะและขอพรจากย่าโมอยู่เสมอ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์ ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้าน กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้น ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน

             94243 images            Pung-Ngi-Chiang pw0214-1

ผ้าไหมดี  หัตถกรรมที่ขึ้นหน้าขึ้นตาและมีชื่อเสียงเป็นที่ติดปากของผู้คนทั่วไปของชาวโคราชอีกประเภทหนึ่ง คือ ผ้าไหมปักธงชัย เป็นผ้าไหมที่มีคุณภาพดี กล่าวคือ เนื้อผ้าหนาแน่น สีคงทน ไม่ตก เมื่อนำมาซักเนื้อผ้าไม่ยุบเมื่อนำมา นุ่งเนื้อผ้าไม่ย้วย คุณภาพของผ้าได้มาตรฐาน มีปริมาณการผลิตมากพอจนสามารถส่งไปจำหน่ายต่างประเทศได้ วัสดุที่ใช้สำหรับทอผ้า ส่วนมากใช้เส้นใยไหม ที่ทอด้วยเส้นใยฝ้ายมีไม่มากนัก ชาวปักธงชัยปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทำเส้นใยขึ้นใช้สำหรับทอผ้าได้อย่างครบวงจร ผ้าที่ทอมักเป็นผ้าพื้น ๒ ตะกอ มีทั้งผ้าเนื้อหนา เนื้อบาง และผ้าเนื้อหยาบ ผ้าหมี่ ผ้าหางกระรอก ผ้าโสร่ง ฯลฯ สำหรับเส้นใยผ้าฝ้าย ใช้ทอผ้าขาวม้า ผ้าเหยียบ ฯลฯสีที่ใช้ย้อมใช้สีเคมีมีการนำเส้นใยฝ้ายโทเรเข้ามาใช้สำหรับทอด้วยเพราะเส้นใยฝ้ายไม่พอเพียง กรรมวิธีการทอผ้า เริ่มด้วยการคัดเลือกเส้นใยสำหรับเส้นพุ่งและเส้นยืน การฟอกย้อม การค้นหูก การสืบหูก การเก็บ ตะกอ ฯลฯ เครื่องมือที่ใช้ได้มีการพัฒนาให้ทันสมัย สามารถฟอก ย้อมได้ครั้งละมาก ๆ การค้นหูกค้นได้ครั้งละร้อยกว่าเมตรการสืบหูกการเก็บตะกอล้วนได้รับการพัฒนาให้สามารถทำได้เร็วขึ้น ก่อนที่จะนำหูกขึ้นกี่ กี่ทอผ้า ส่วนมากเป็นกี่กระตุก ซึ่งทอผ้าได้เร็วกว่าการทอด้วยมือ ชาวบ้านได้รับการฝึกฝนให้ทอผ้า ด้วยกี่กระตุกได้เป็นอย่างดี กี่กระตุกเป็นกี่ที่เหมาะกับการทอผ้าพื้น การประยุกต์ใช้ ผ้าไหมพื้นเป็นผ้าที่นำมาใช้ประโยชน์ได้สูง สามารถนำมาตัดเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มทั้งหญิงและชาย ได้อย่างสวยงาม ถ้าต้องการทำให้มีลายบนเนื้อผ้า อาจนำไปพิมพ์ ปักหรือฉลุ ใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ เช่น ทำผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองจาน กระเป๋า แฟ้มเอกสาร ฯลฯ พวงกุญแจผ้าเนื้อหนา อาจนำมาทำผ้าห่ม ผ้าม่าน บุเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ

ดาวน์โหลด

 

หมี่โคราช เป็นอาหารมื้อกลางวัน ในชีวิตประจำวันของคนโคราช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบุญ เช่น งานโกนจุก งานบวชนาค แต่งงาน หรืองานสมโภชอื่นๆ การผลิตเส้นหมี่ จะผลิตในหมู่บ้านทั่วๆ ไปแต่แหล่งผลิตที่สำคัญ ทำเป็นอาชีพ ส่งขายทั่วไป ได้แก่
หมี่พิมาย อำเภอพิมาย หมี่กระโทก อำเภอโชคชัย หมี่ตะคุ อำเภอปักธงชัย หมี่กุดจิก อำเภอสูงเนิน หมี่จักราช อำเภอจักราช การทำเส้นหมี่ ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมา เป็นภูมิปัญญา ในการพลิกแพลงอาหาร จากแป้งได้เป็นอย่างดี

y3005

 

ปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ตั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา คำว่า “พิมาย” น่าจะเป็นคำเดียวกันกับชื่อ “วิมาย” ที่ปรากฎอยู่ในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหิน กรอบประตูด้านทางเข้า พิมายเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่ที่มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคู และกำแพงเมืองล้อมรอบ มีปราสาทประธานตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลางของเมือง มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ทางด้านทิศเหนือและทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้มีแม่น้ำเค็ง ทางด้านทิศตะวันตกมีลำน้ำจักราชไหลผ่านไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่ท่าสงกรานต์ มีแหล่งน้ำภายในเมืองได้แก่สระแก้ว สระพลุ่ง สระขวัญ และสระน้ำที่ขุดขึ้นภายนอกเมืองได้แก่ สระเพลง สระโบสถ์ และสระเพลงแห้ง และอ่างเก็บน้ำ (บาราย) ขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ ปราสาทหินพิมายคงสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ และมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ทั้งนี้โดยกำหนดอายุ จากหลักฐานต่าง ๆ เช่น ศิลาจารึก หลักฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางด้านศิลปกรรมที่แตกต่างไปจากที่พบโดยทั่วไปของปราสาทหินอื่น ๆ ที่นิยมสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ในขณะที่ปราสาทพิมายจะสร้างให้หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตรงกับเมืองพระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ?? ท่านที่สนใจอยากจะเดินทางไปท่องเที่ยวและศึกษาโบราณคดีก็สามารถเดินทางไปได้โดยสดวก ตัวปราสาทหินตั้งอยู่ในเขตเทศบาลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ไปตามเส้นทางถนนมิตรภาพ นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงเทศบาลตลาดแคแยกขวามือเข้าสู่ตัวเมืองพิมายหนทางไป มา สดวก มีโรงแรมที่พักพร้อม เชิญพิสูจน์ได้ด้วยตัวท่านเองแล้วท่านจะไม่ผิดหวัง

แต่งแล้วนะ 960 X 374

 

ดินด่านเกวียน เป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เดิมอำเภอโชคชัยเป็นเมืองหน้าด่าน เรียก
ว่า “ด่านกระโทก”อยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างโคราชกับเขมร ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น”อำเภอกระโทก”เมื่อปี พ.ศ.2446
มีขุนอภัยอนุรักษ์เขต (2446-2450) เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “อำเภอ
โชคชัย” เพื่อยกย่องวีรกรรมของพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยกทัพมาปราบเจ้าเมืองพิมาย และได้รับชัยขนะ ณ บริเวณ
ที่ตั้งอำเภอโชคชัย
ด่านเกวียน เป็นชุมชนขนาดใหญ่อยู่ริมฝั่งลำน้ำมูลห่างจากอำเภอเมืองนครราชสีมาประมาณ 15 กิโลเมตร เมื่อสมัย
ก่อนเป็นที่พักของกองเกวียนบรรทุกสินค้าต่างๆ ที่จะเดินทางค้าขายระหว่างโคราชกับเขมร โดยผ่านทางนางรอง เมืองปัก บุรี
รัมย์ สุรินทร์ ขุขันธ์ ขุนหาญ จนถึงเขมร การทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดบรรพ
บุรุษของชาวด่านเกวียนเล่าให้ฟังสืบๆ กันมาหลายชั่วอายุคนว่าเดิมชาวด่านเกวียนมีอาชีพทำนา ทำไร่ อยู่ริมฝั่งลำน้ำมูลและ
เรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาจาก “ชาวข่า”ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งตระกูล มอญ-เขมร เป็นชนพื้นเมืองเดิม ที่มีถิ่นฐานอาศัย
อยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์ ชาวข่าส่วนใหญ่ได้อพยพจากถิ่นฐานเดิมเข้ามาทำมาหา
กินในดินแดนแถบนี้และได้นำดินมาปั้นเป็นภาชนะและเผาไว้ใช้สอยในครัวเรือนเช่น โอ่ง กระถาง ไห ครก รอฝนยา เป็นต้น
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2500 การผลิตเครื่องปั้นดินเผาตามวิถีชีวิตดั้งเดิมเริ่มเข้าสู่ยุคการเปลี่ยนแปลง วิธีการผลิตเมื่อวิท
ยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้สำรวจพบว่าดินด่านเกวียนมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีแร่เหล็กผสมอยู่ เมื่อเผาที่อุณห
ภูมิประมาณ 1,200 องศาเซลเซียส ทำให้แร่เหล็กละลายออกมาเคลือบผิว ทำให้เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีลักษณะเป็นสี
สัมฤทธิ์ มันวาว เมื่อเคาะจะมีเสียงดังกังวาน
ปัจจุบันหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงามมีรูปแบบที่แปลก

Leave a comment