ทึ่งวัดต้นแบบโคราช ปลูกป่าพะยูงร้อยล้านอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายาก

images-stories-image-img_2434-300x168

หนองบุญมาก – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดหนองตะลุมปุ๊ก หมู่ที่ 3 ต.หนองไม้ไผ่ อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา ทางวัดได้มีการส่งเสริมการอนุรักษ์ไม้พะยูงให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ไม้หายาก และช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ให้คงอยู่กับพื้นที่มานานเกือบ 20 ปีแล้ว ภายใต้การนำของหลวงปู่หมั่น สุเมโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองตะลุมปุ๊ก ซึ่งถึงแม้ว่าท่านจะมรณะภาพไปแล้วเป็นเวลาถึง 10 ปี แต่สิ่งที่ท่านได้ยึดถือและนำกลุ่มชาวบ้านช่วยกันดูแลผืนป่าพะยูง ก็ยังถูกสืบทอดสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนรุ่นหลังให้ช่วยกันดูแลสิ่งที่ ท่านเริ่มต้นไว้ รวมถึงสานต่อเพื่อให้ความมุ่งหวังของท่านเป็นจริงตามที่ตั้งใจไว้

ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ก.ย.2556 ที่ผ่านมา นายอานนท์ หารสูงเนิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไม้ไผ่ อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา นำชาวบ้านกว่า 20 ชีวิต ทำพิธีบวชป่าพะยูงที่อยู่ภายในวัดหนองตะลุมปุ๊ก บนเนื้อที่กว่า 15 ไร่ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนไม้พะยูงอายุมากกว่า 10 ปี มากกว่า 500 ต้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้กลุ่มชาวบ้านช่วยกันอนุกรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และช่วยกันดูแลผืนป่าที่เหลืออยู่ในพื้นที่ให้คงอยู่ต่อไปจนถึงชั่วลูกชั่ว หลาน

นายอานนท์ หารสูงเนิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองไม้ไผ่ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้พื้นที่บริเวณ ต.หนองไม้ไผ่ เป็นผืนป่าดงอีจาน มีพันธุ์ไม้ที่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก อาทิ ไม้เต็ง มะค่า ประดู่ รวมไปถึงไม้พะยูง แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวบ้านนพื้นที่ทำให้มีการแผ้วถางป่าเพื่อ ปลูกพืชเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก จึงเป็นเหตุให้ผืนป่าลดน้อยลงอย่างรวดเร็ว ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ตามหัวไร่ปลายนาของเกษตรกรในพื้นที่ แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้ลักลอบตัดไม้ ออกตระเวนขโมยตัดไม้ที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดนพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะไม้พะยูงที่มีมูลค่าทางตลาดสูง ถูกลักลอบตัดไปจนหมด ทางหลวงปู่หมั่น สุเมโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดได้เล็งเห็นถึงความสำคัญมี่จะอนุรักษ์ไม้พะยูงให้คงอยู่กับ พื้นที่ เพื่อให้ลูกหลานได้รู้จักและตระหนักถึงความสำคัญ จึงไปขอสนับสนุนพันธุ์ไม้พะยูง จากหน่วยงานสังกัดกรมป่าไม้ มาปลูกไว้ในพื้นที่ว่างของวัดเป็นเนื้อที่กว่า 15 ไร่ โดยอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการดูแลพันธุ์ไม้ที่ปลูกไว้ จนชาวบ้านเห็นถึงความสำคัญและร่วมใจกันช่วยกันดูแลจนต้นพะยูงทั้งหมดซึ่งมี อยู่มากกว่า 500 ต้น เติบโตคงอยู่คู่กับพื้นที่มานานกว่า 10 ปี กลายเป็นสวนป่าใช้สำหรับปฏิบัติธรรมแก่พุทธศาสนิกชนอีกทั้งยังเป็นแหล่ง เรียนรู้ให้กับเยาวชนในพื้นที่มาจนถึงทุกวันนี้ หากคิดเป็นมูลค่าไม้พะยูงที่มีอยู่ในวัด ณ วันนี้น่าจะมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาท ซึ่งถือเป็นวัดต้นแบบของจังหวัดนครราชสีมาที่หน่วยงานทุกภาคส่วนรวมถึง ประชาชนทั่วไปควรนำมาเป็นแบบอย่างเพื่อช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของ ประเทศให้คงอยู่สืบไปอย่างเป็นรูปธรรม

This entry was posted in Uncategorized. Bookmark the permalink.

Leave a comment